การบ้านบทที่ 1 ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553
1.จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน
การจัดการข้อมูลในอดีตจะทำการจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล โดยแต่ละแฟ้มข้อมูลจะประมวลผลเป็นอิสระจากกัน ซึ่งจะทำให้มีความยุ่งยากมากต่อการเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล และแก้ไขข้อมูล เพราะอาจจะทำให้เกิดการซ้ำซอนของข้อมูลขึ้นได้
แต่ปัจจุบันได้ใช้ระบบจัดการข้อมูลที่เรียกว่าระบบฐานข้อมูล DBMS ซึ่งง่ายต่อการค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลโดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นระบบที่แก้ไขปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูลนั่นเอง แต่ต้องแลกกับต้นทุนที่สูง
2.โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลจะประกอบไปด้วย
-บิต (bit) ประกอบไปด้วยเลขฐานสอง ใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยที่ใช้จะมีค่า 0 และ 1 เท่านั้น
-ไบต์ (byte) คือการนำเอาบิตหลายๆ บิตมาเรียงต่อกัน เช่น 1 ไบต์มี 8 บิต ก็คือการนำเอาเลข 0 กับ 1 มาเรียงต่อกัน 8 ตัวจนครบ 1 ไบต์ เพื่อให้ได้อักขระหนึ่งตัว
-ฟิลด์ (field) คือ การนำเอาอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น ฟิลด์ std_name ใช้เก็บข้อมูลนักศึกษา เป็นต้น
-เรคคอร์ด (record) คือ กลุ่มของฟิลด์ที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือ ใน 1 เรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นชุด เช่น เรคคอร์ดพนักงาน
-ไฟล์ (file) คือ กลุ่มของเรคอร์ดที่สัมพันธ์กันเช่น แฟ้มประวัตินักศึกษาจะประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาทั้งหมดในมหาวิทยาลัย ดังนั้นหนึ่งไฟล์จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเรคคอร์ด เพื่อใช้การใช้งานข้อมูล เป็นต้น
-Database การรวมกันของหลาย files/tables
3.การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
ข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล
-ข้อมูลมีการจัดเก็บแยกจากกัน จะมีการเก็บข้อมูลแยกกันหลายแฟ้ม ซึ่งแต่ละแฟ้มจะมีคีย์หลักที่เชื่อมข้อมูลเอาไว้ ดังนั้นจึงทำให้ข้อมูลแยกจากกัน
-เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เนื่องจากการเก็บข้อมูลที่แยกจากกัน จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมข้อมูลไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกันได้ และยังทำให้เปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูลอีกด้วย
-ข้อมูลมีความขึ้นต่อกัน ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล จะส่งผลให้ข้อมูลในหน่วยงานอื่น ๆ ที่จัดเก็บไม่ตรงกัน
-ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล คือ ข้อมูลเดียวกันจะถูกจัดเก็บไว้ในหลาย ๆ แห่ง มีค่าไม่ตรงกัน ซึ่งอาจเกิดจากการผิดพลาดของการป้อนข้อมูล มีรูปแบบไม่ตรงกัน
-รายงานต่าง ๆ ถูกกำหนดไว้อย่างจำกัด เนื่องจากระบบแฟ้มข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน ถูกเขียนขึ้นด้วยหลาย ๆ โปรแกรม ส่วนที่โปรแกรมเมอร์มาพัฒนาโปรแกรม จะมีส่วนกำหนดรายงานที่หน่วยงานจะใช้ เมื่อต้องการรายงานอื่น ๆ ในอนาคตก็จะต้องทำการจ้างโปรแกรมเมอร์อีกครั้ง
4.ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
ฐานข้อมูล (Database) ประกอบด้วยรายระเอียดข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะถูกนำมาใช้งานในด้านต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ให้เป็นศูนย์กลางอย่างมีระบบซึ่งสามารถเรียกใช้งานร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการ แลการเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ตัวอย่างฐานข้อมูลที่รู้จัก ระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ระบบฐานข้อมูลของมหาวิยาลัย เป็นต้น
5.ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล,แก้ปัญหาความขัดแย้งของข้อมูล,การบริหารจัดการฐานข้อมูลทำได้ง่าย,กำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้,สามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้,เกิดความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลกับโปรแกรม,กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้
6.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลอย่างไร
ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งการสร้าง, การเรียกใช้งาน, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยังควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลอีกด้วย โดยระบบจัดการฐานข้อมูลจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้งานโปรแกรมประยุกต์
7.จงยกตัวอย่าง ฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การฝากและถอนเงินผ่านระบบ ATM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น